การดำเนินการด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน

       ดำเนินงานการมีส่วนร่วมของประชาชนให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย และประเด็นต่าง ๆ ตลอดระยะเวลาโครงการ จัดให้ประชาชนมีส่วนร่วมและให้ข้อมูลผลการดำเนินงานแก่ประชาชนเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยทำการประชาสัมพันธ์ข้อมูลโครงการเพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนความก้าวหน้าของการดำเนินงานในพื้นที่ได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง โดยผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ ประกอบด้วย แผ่นพับ บอร์ดประชาสัมพันธ์ เอกสารประกอบการประชุม และข้อมูลข่าวสารผ่านทางเว็บไซต์ www.highway106thoen-li.com

1.เข้าพบปะ

แนะนำโครงการ  ประกอบด้วย   ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง  ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงลำปางที่ 1  ผู้อำนวยการจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3  (ลำปาง)   นายอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาโป่ง  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ถอด  กำนันนาโป่ง  กำนันแม่ถอด ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงลำพูน  นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน  นายอำเภอลี้  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดงดำ

1.1 การเข้าพบหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน และพื้นที่อ่อนไหวของโครงการ

มื่อวันที่ 9 พ.ย 65 ที่ปรึกษาได้เข้าพบหน่วยงานราชการ พื้นที่อ่อนไหว NGO และผู้นำชุมชน (เพิ่มเติม) ดังนี้

1. ผอ. ทสจ.ลำปาง
2. เจ้าอาวาสวัดอุมลอง และ
3. ผู้นำชุมชนหมู่ 1 บ้านอุมลอง
4. เจ้าอาวาสวัดปากกอง
5. เจ้าอาวาสสำนักสงฆ์ห้วยโจ้
6. เจ้าอาวาสสำนักสงฆ์เวียงทอง
7. เจ้าอาวาสวัดดอนไชย
8. สมาคมคนรักสิ่งแวดล้อมลำปาง

1.2 การเข้าพบหน่วยราชการและงานสาธารณูปโภคที่เกี่ยวข้อง

เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2565 เวลา 13.30 น. โครงการได้ประชุมหารือหน่วยราชการและงานสาธารณูปโภคที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หน่วยงานเทศบาลเมืองล้อมแรด หน่วยงานเทศบาลนาโป่ง หน่วยงานสาธารณูปโภค คือ การประปาภูมิภาคสาขาเถินเถิน บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

2. การประชุมปฐมนิเทศโครงการ (สัมมนาครั้งที่ 1)

เพื่อนำเสนอความเป็นมาของโครงการ ขอบเขตการศึกษา และแผนการดำเนินงานการศึกษาของโครงการ พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสียต่อโครงการ เพื่อให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ.2565 ณ ห้องประชุมอำเภอเถิน ที่ว่าการอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง โดยได้รับเกียรติจากนายสมศักดิ์ วัชรธาดาพงศ์ (นายอำเภอเถิน) เป็นประธานการประชุม และผู้เข้าร่วมประชุม รวมทั้งสิ้น 75 คน ประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงานระดับจังหวัด ผู้แทนหน่วยงานระดับอำเภอ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน สถานศึกษา สื่อมวลชน ประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบ และประชาชนทั่วไปที่สนใจโครงการ

3.การประชุมสรุปผลการคัดเลือกรูปแบบการพัฒนาโครงการ (สัมมนา ครั้งที่ 2)

เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าของการศึกษาและผลการคัดเลือกรูปแบบการพัฒนาโครงการ โดยดำเนินการจัดประชุมเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเถิน อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง โดยได้รับเกียรติจากนายจำลักษ์ กันเพ็ชร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานการประชุม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุม
รวมทั้งสิ้น 80 คน ประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงานระดับจังหวัด หน่วยงานระดับอำเภอ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน สถานศึกษา ศาสนสถาน สถานพยาบาล สื่อมวลชน ประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบ และประชาชนทั่วไปที่สนใจโครงการ

การประชุมกลุ่มย่อยเพื่อพิจารณารูปแบบที่เหมาะสม (กลุ่มย่อย ครั้งที่ 1)

การประชุมหารือมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม (กลุ่มย่อย ครั้งที่ 2)

เมื่อวันที่9-10 มกราคม พ.ศ. 2567 โครงการได้จัดประชุมหารือมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม (กลุ่มย่อย ครั้งที่ 2) จำนวน 3 กลุ่ม
– กลุ่มที่ 1 วันอังคารที่ 9 มกราคม พ.ศ.2567 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลดงดำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน โดยได้รับเกียรติจาก นายอัคค์สัจจา ใจบุญตระกูล ตำแหน่ง ปลัดอาวุโส รักษาราชการแทนนายอำเภอลี้ เป็นประธานการประชุม
– กลุ่มที่ 2 วันอังคารที่ 9 มกราคม พ.ศ.2567 เวลา 14.00 – 17.00 น. ณ ห้องประชุมองค์การบริหาร
ส่วนตำบลนาโป่ง อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง
– กลุ่มที่ 3 วันพุธที่ 10 มกราคม พ.ศ.2567 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเถิน อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง โดยได้รับเกียรติจาก นายสมศักดิ์ วัชรธาดาพงศ์ ตำแหน่ง นายอำเภอเถิน เป็นประธานการประชุม

การประชุมสรุปผลการศึกษาโครงการ (สัมมนา ครั้งที่ 3)

เพื่อนำเสนอสรุปผลการศึกษา การสำรวจออกแบบรายละเอียด รูปแบบโครงการ พร้อมองค์ประกอบของโครงการ และมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ผลการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ผ่านมา โดยดำเนินการจัดประชุมเมื่อศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2567 เวลา 09.00-12.00 น. ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอเถิน อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุม รวมทั้งสิ้น 83 คน ประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงานระดับจังหวัด หน่วยงานระดับอำเภอ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ศาสนสถาน สถานพยาบาล สื่อมวลชน ประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบ